ตามรอยตำนานช้างงูเชียงแสน

บทคัดย่อ
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตานานท้องถิ่น ในอาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เรื่อง “ตานานช้างงู”จากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ๒) เพื่อได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเรื่องเล่า ตานานช้างงูจากบรรพบุรุษของชาวเชียงแสน อนุรักษ์และสืบทอดเรื่องราว สร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชาวเชียงแสนตลอดจนสอดรับการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ๓) เพื่อเผยแพร่ตานาน “ช้างงู” ให้เยาวชนในโรงเรียน และเผยแพร่ตานานเรื่อง “ช้างงู” แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป จากการเปรียบเทียบตานานจาก แหล่งข้อมูล ดังนี้ ๑) หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๔ (เจ้าทังห้า – ดอยหลวง, กิ่งอาเภอ) ๒) เอกสารประกอบการศึกษาวิชาหลักสูตรท้องถิ่น ประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย – เชียงแสน ของสานักงานสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ๓) เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน โดย สานักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๔) ประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย โดยสานักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายา ๕) ตานานสืบค้นจากเว็บไซต์ กลุ่มตะเกียง ใน http://www.oocities.org/tour312/chang.htm และ ๖) จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านจอมกิตติ นางประกายคุณ เทียมตา และปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านเวียงใต้ นายแพทย์คงฤทธิ์ วังมณี


ผลการศึกษาพบว่า
ผลการศึกษาพบว่า ตานานเรื่องเล่า “ช้างงู” ตานานของชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องสะท้อนภาพสังคมชีวิตความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนทัศนคติที่มีต่อเรื่องราว และสิ่งที่ซ่อนเร้นในจิตใต้สานึกซึ่งอาจแสดงถึงค่านิยมของสังคมชาวเชียงแสนแล้วระบายออกในรูปของนิทาน ตานาน ซึ่งจะเห็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษที่ใช้เรื่องเล่าเหล่านี้เป็นเครื่องกล่อมเกลาคนในสังคมให้ประพฤติดีงาม นอกจากนี้ยังทาให้ทราบว่าชาวเชียงแสนในอดีตมีศรัทธาในพุทธศาสนาสูง ดังในปัจจุบันที่พบเห็นวัดจานวนมากมายที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในอาเภอเชียงแสนที่มีจานวนถึง ๑๔๗ แห่ง โดยแยกเป็นวัดที่ตัวเมือง ๗๕ วัด (ปัจจุบันคงเหลือ ๕๓ วัด) วัดนอกเวียงจานวน ๖๖ วัด เรื่องราวตานานสะท้อนเรื่องราวสอนใจคนในทางอ้อมและทางตรง และส่งผลถึงการจัดระเบียบสังคมให้อยู่ด้วยกันอย่างระเบียบเรียบร้อย
ในตานานสิงหนวัติกุมาร มีปรากฏเรื่องเล่ายุคสมัยของพระเจ้าพังคราชที่ครองเมืองเชียงแสน (โยนกนาคพันธ์) ได้ถูกขอมดาชิงเมืองและถูกเนรเทศไปเป็นนายบ้านเมืองสี่ตวง (บางตานานว่า “สี่ทวง”) ต้องส่งส่วยแก่ขอมทุกปีเป็นทองเท่าผลมะตูม ๔ ลูก
ต่อมาพระเจ้าพังคราชได้มีโอรสองค์แรกมีนามว่า เจ้าทุกขิตะ เหตุว่าประสูติมาในยามที่บิดา มารดากาลังอยู่ในระหว่างความทุกข์ยาก
ระหว่างนั้นชาวไทยถูกกดขี่ข่มเหงมาก มีสามเณรรูปหนึ่งเป็นชาวเมืองสี่ตวงได้ออกบิณฑบาตเข้าไปในคุ้มของพญาขอมดา พญาขอมได้เหยียดหยามและขับไล่สามเณรดังกล่าวออกจากเมือง ทาให้สามเณรคับแค้นใจ จึงนาข้าว ๗ ก้อนที่ได้จากบิณฑบาตถวายแก่พระธาตุดอยกู่แก้ว อธิฐานขอเกิดในครรภ์มเหสีพระเจ้าพังคราชและได้มาปราบขับไล่พญาขอมให้พ้นจากโยนกนาคพันธ์ ด้วยแรงอธิษฐานดังกล่าวทาให้บังเกิดเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ในพระเจ้าพังคราชคือ พรหมกุมาร
เมื่อพรหมกุมารเจริญวัยขึ้นจึงสะสมอาวุธ คิดจะชิงเมืองคืน เมื่อพรหมกุมารอายุได้ ๑๓ ปี (บางตานานว่า ๑๖ ปี) มีเทวดาแสดงในความฝันเรื่องช้างวิเศษ หากจับช้างเชือกแรกได้จะปราบได้ทั้งจักรวาล หากจับได้เชือกที่สองจะปราบชมพูทวีปทั้งหมด และหากจับได้เชือกที่สามจะสามารถปราบได้เพียงล้านนาและขอมดาทั้งมวล
พรหมกุมารและบริวารจึงตัดเอาไม้ขอไล่ และไปล้างหน้าที่แม่น้าโขงตามที่เทวดาบอก ครู่หนึ่งมีงูตัวหนึ่งล่องมาลวดลวดลายเป็นด่างเป็นดวงขนาดเท่ายุ้งข้าวพรหมกุมารและบริวารตกใจสั่นด้วยความกลัว ต่อมางูตัวที่สองล่องมามีลาตัวเป็นมันวับมีขนาดเท่าต้นตาลพรหมกุมารและบริวารยังหวาดกลัวเช่นเดิม และเมื่องูตัวที่สามล่องมานั้นเองลาตัวเป็นมันขนาดลาตัวเท่าลาตาลล่องมา พรหมกุมารคิดว่าเทวดาบอกว่าช้างแต่พบงูแทน ซึ่งเทวดาคงจะหมายถึงงูนั้นจึงบอกบริวารช่วยกันกระโดดจับเอางูในน้าขึ้นมา เมื่อขึ้นบกงูดังกล่าวกลับกลายเป็นช้างและพรหมกุมารได้ขับช้างดังกล่าวเป็นช้างศึกขับไล่ติดตามขอมดารุกไปจนถึงดินแดนละโว้
หลังจากนั้นพรหมกุมารก็ไปสร้างเมืองไชยปราการเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ขอมดายกทัพกลับมารุกราน เมื่อยึดเมืองคืนจากขอมดาได้แล้วทรงแสดงเจตนาชัดเจนว่าไม่ประสงค์รับราชสมบัติในเมืองโยนกนาคพันธ์ ได้อัญเชิญพระเจ้าพังคราชบิดาให้เสด็จกลับมาครองเมืองโยนกดังเดิม เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าพังคราช เจ้าทุกขิตกุมารพี่ชายได้ขึ้นครองเมืองโยนกนาคพันธ์สืบแทน
หลังสงครามพรหมราชก็คืนสู่เวียงพางคาพอปลดเครื่องศึกลงหลังช้างศึก ช้างดังกล่าวกลับกลายเป็นงูใหญ่ตามเดิมและเลื้อยลงไปในรูดอยเสีย คนทั้งหลายจึงเรียกดอยนั้นว่า “ดอยช้างงู” ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “ดอยสะโง้” แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของอาเภอเชียงแสนในปัจจุบัน
เมื่อพระองค์พังหรือพระเจ้าพังคราชได้กลับมาครองเมืองโยนกนครแล้ว ต่อมาในปีศักราช ๓๐๒ หรือ พ.ศ. ๙๒๔ พระองค์ได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์จานวน ๑๑องค์ พระองค์และพระเจ้าพรหมได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ไว้ที่บนดอยน้อยและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเจดีย์นี้ว่า พระธาตุจอมกิตติ ตั้งแต่บัดนั้นมา เมืองโยนกนครก็อยู่เย็นเป็นสุขเหมือนดังแต่ก่อนมา
ด้วยเหตุที่งูกลายร่างเป็นช้างนี้ ช่างศิลปินแห่งเมืองเชียงแสนจึงนิยมปั้นปูนเป็นประติมากรรมประดับไว้ตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นรูปตัวเป็นงูหรือนาคและหัวเป็นช้าง เรียกว่ารูปช้างงู ซึ่งจะพบแต่ที่อาเภอเชียงแสนเท่านั้น
ปัจจุบันอาเภอเชียงแสนได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ช้างงู ขึ้นบริเวณวงเวียนก่อนทางเข้าอาเภอเชียงแสน และมีน้าพุดนตรี แสง สี แสงประกอบดนตรี นิราศเชียงแสน ทุกเย็นในช่วงเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา , ๑๙.๐๐ นาฬิกา , ๒๐.๐๐ นาฬิกา และ ๒๑.๐๐ นนาฬิกา ทุกต้นชั่วโมงของเวลาดังกล่าว มีการแสดงน้าพุประกอบดนตรีใช้เวลา แสดง ๑๔.๐๐ นาฬิกา ทุกวัน


เอกสารตามรอยตำนานช้างงูเชียงแสน     ดาวน์โหลดที่นี่
วิดีโอตามรอยตำนานช้างงูเชียงแสน     รับชมวีดีโอที่นี่
 

เมื่อศุกร์ ที่ 20 ตุลาคม 2560 | ::: การจัดการความรู้ | เข้าชม: 5490 ครั้ง